ก่อนจะมีความนิยมของกล้องถ่ายภาพ ฟิลเตอร์กล้องฟิล์ม ในยุคดิจิตอลเกิดขึ้นแบบทุกวันนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปถึงวิวัฒนาการแรกของกล้องถ่ายภาพก่อน แต่เดิมกล้องถ่ายภาพจะเป็นระบบฟิล์มซึ่งมีวิธีการใช้งานหลายขั้นตอนกว่าจะได้ภาพมา 1 ภาพ เพราะในการถ่ายภาพผ่านกล้องฟิล์มจะไม่มีจอแสดงภาพให้เห็นหลังจากกดชัตเตอร์ทันที และภาพที่ถ่ายแล้วต้องนำมาผ่านกรรมวิธีล้างฟิล์มเสียก่อนจึงจะได้ภาพถ่ายที่สมบูรณ์ออกมา จึงจะเห็นได้ว่าในกล้องระบบฟิล์มจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง แต่ข้อจำกัดเหล่านั้นก็ถูกแก้ไขให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นในกล้องระบบดิจิทัลแล้ว
แม้ว่ากล้องถ่ายภาพในระบบฟิล์มจะถูกพัฒนาและถูกแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ ไปแล้ว ซึ่งจะเห็นรูปลักษณ์ภายนอกของกล้องที่เปลี่ยนไป ระบบบางอย่างที่ใช้งานยากในระบบฟิล์มก็สามารถใช้ได้แบบง่าย ๆ ในระบบดิจิทัลแล้ว อุปกรณ์เสริมหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับกล้องถ่ายภาพระบบฟิล์มก็ถูกพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้น และอุปกรณ์บางอย่างที่เคยใช้ร่วมกับระบบกล้องฟิล์ม เช่น ฟิลเตอร์ กล้องฟิล์ม ก็ยังมีบทบาทในวงการของกล้องดิจิทัลอยู่ และวันนี้เราจะมาคุยเกี่ยวกับเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้กัน
ฟิลเตอร์สำหรับกล้องถ่ายภาพ คืออะไร
ฟิลเตอร์ กล้องฟิล์ม เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระจกทรงกลม ในกล้องระบบฟิล์มจะใช้ฟิลเตอร์เพื่อป้องกันหน้าเลนส์กล้องที่อาจจะตกกระแทก โดนขีดข่วน หรือมีฝุ่นเกาะ และอีกหน้าที่หนึ่งจะใช้สำหรับตัดแสงอัลตราไวโอเลท (UV) ซึ่งในกล้องระบบฟิล์มจำเป็นต้องใช้ฟิลเตอร์เพื่อการตัดแสง UV โดยเฉพาะ ซึ่งฟิวเตอร์ที่ใช้ตัดแสง UV จะไม่ค่อยมีบทบาทสำหรับกล้องระบบดิจิทัล เพราะกล้องดิจิทัลจะมีระบบตัดแสง UV ในตัวเองอยู่แล้ว
แม้ว่าฟิลเตอร์ตัดแสง UV จะไม่ได้มีบทบาทในงานถ่ายภาพระบบดิจิทัลแล้ว แต่สำหรับงานถ่ายภาพยุคดิจิทัลช่างภาพจะรู้ดีว่าฟิลเตอร์ในปัจจุบันนั้นมีคุณสมบัติเพื่อการเพิ่มสีสันให้การถ่ายภาพ ซึ่งในพื้นที่การถ่ายภาพที่มีข้อจำกัดด้านแสงหรือควบคุมแสงนอกสถานที่ลำบากจะต้องอาศัยฟิลเตอร์เป็นตัวช่วยในการนี้นั่นเอง
ฟิลเตอร์ที่เป็นมากกว่าการป้องกันเลนส์กล้อง
อย่างที่บอกไปแล้วว่า ฟิลเตอร์กล้อง ในยุคดิจิทัลแม้ไม่ได้มีไว้แค่ตัดแสง UV แล้ว และไม่ได้เอาไว้ปิดหน้าเลนส์กล้องเพื่อป้องกันการกระแทกเท่านั้น แต่ฟิลเตอร์ที่เห็นในปัจจุบันจะเป็นเหมือนลูกเล่นอย่างหนึ่งสำหรับช่างภาพมืออาชีพ ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายแบบแยกไปตามแนวทางที่จะนำเสนอภาพถ่าย ดังนี้
– ฟิลเตอร์ Circular Polarizing เป็นฟิลเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ลดแสงตกกระทบบนพื้นผิวและเงาสะท้อนต่าง ๆ ช่างภาพที่นิยมการถ่ายภาพท้องฟ้า ก้อนเมฆ จึงเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีติดตัวไปด้วยเสมอ
– ฟิลเตอร์ Neutral Density เป็นฟิลเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานถ่ายภาพน้ำตก หรือภาพที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของน้ำ ลักษณะการใช้งานของฟิลเตอร์นี้จะช่วยลดแสงที่ไม่จำเป็นพุ่งเข้าสู่เซนเซอร์รับแสง ฟิลเตอร์นี้เป็นตัวช่วยในการลดทอนแสงเท่านั้นไม่ได้ทำให้สีของภาพเพี้ยน ซึ่งฟิลเตอร์นี้มีจะระดับการลดแสงจากระดับ 1 stop ถึง 10 stop ขึ้นไป
– ฟิลเตอร์ Graduated Neutral Density ฟิลเตอร์นี้มีคุณสมบัติเพื่อการลดแสงที่ไม่จำเป็นเช่นกัน แต่จะเป็นฟิลเตอร์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมีสีดำครึ่งเดียว เพราะจะใช้ในกรณีที่ต้องการลดทอนแสงในกรอบของภาพแค่บางตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งจะต่างจากฟิลเตอร์ Neutral Density ที่จะนำมาใช้เพื่อลดแสงทั้งภาพ
– ฟิลเตอร์ Soft Focus คุณสมบัติของฟิลเตอร์ลักษณะนี้จะทำให้ภาพถ่ายออกมาดูนุ่มนวล แต่เป็นฟิลเตอร์ที่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก เพราะความนุ่มนวลของภาพถ่ายสามารถนำมาแก้ไขในโปรแกรมตกแต่งภาพทีหลังได้
– ฟิลเตอร์ Macro เป็นฟิลเตอร์ที่ทำให้ระยะถ่ายภาพใกล้ขึ้น ซึ่งจะมีคุณสมบัติคล้ายเลนส์มาโคร
– ฟิลเตอร์ Color เป็นฟิลเตอร์ที่เน้นใช้เพื่อตกแต่งภาพโดยเฉพาะ หากสนใจจะลองใช้ก็มีให้เลือกหลายสี
เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วจึงทำให้รู้ว่า ฟิลเตอร์กล้องฟิล์ม ที่แต่เดิมมีคุณสมบัติการใช้งานไม่เยอะ ปัจจุบันกลับได้รับการพัฒนาต่อยอดให้มีคุณสมบัติการใช้งานหลากหลายขึ้น ซึ่งในแวดวงของช่างภาพมืออาชีพจะต้องมีอุปกรณ์ชิ้นนี้ติดตัวไปด้วยเสมอ การเลือกเอาอุปกรณ์ฟิลเตอร์มาใช้ในการถ่ายภาพเป็นลูกเล่นที่น่าสนใจ สำหรับคนที่กำลังมองหาแนวทางการถ่ายภาพที่เกิดมิติแปลกใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว
การเลือกใช้ฟิลเตอร์ให้ตรงใจที่สุด
1. เลือกตามคุณสมบัติที่ต้องการใช้ในภาพถ่าย ซึ่งย้อนกลับไปดูคุณสมบัติของฟิลเตอร์ที่ให้ข้อมูลไว้ก่อนหน้านี้ได้เลย
2. เลือกให้เหมาะสมกับเลนส์ที่จะใช้งาน ซึ่งฟิลเตอร์รูปแบบดั้งเดิมจะเป็นทรงกลม แต่ในปัจจุบันฟิลเตอร์มีรูปแบบและขนาดที่เปลี่ยนไป ในการใช้งานกับเลนส์บางประเภทจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมในการยึดเกาะฟิลเตอร์ด้วย
3. เลือกตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต เพราะวัสดุที่ใช้ผลิตฟิลเตอร์มีหลายเกรดจึงทำให้มีผลเรื่องราคาซึ่งแต่ละคนก็มีกำลังจ่ายที่ไม่เท่ากัน แต่คุณภาพสินค้าก็จะลดหลั่นไปตามราคานั่นเอง
4. วัสดุที่มักนำมาใช้ในการผลิตฟิลเตอร์ ได้แก่ แก้ว พลาสติก เรซิ่น
– ฟิลเตอร์ที่ผลิตมาจากแก้วจะมีราคาสูงเหมาะสมกับคุณภาพที่สูงกว่า แต่จะแตกหักง่ายกว่าวัสดุชนิดอื่น
– ฟิลเตอร์ที่ผลิตมาจากพลาสติกกับเรซิ่นจะมีราคาที่ลดลงมา ไม่แตกหักง่ายเหมือนแก้ว แต่มักเกิดรอยขีดข่วนง่ายกว่าวัสดุที่เป็นแก้ว
ส่องอดีตผ่านฟิลเตอร์มาสู่ยุคปัจจุบัน
จากข้อแนะนำเบื้องต้นไม่ได้จำกัดขอบเขตการใช้งาน ฟิลเตอร์ปิดเลนส์กล้อง ให้อยู่ในเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งเพียงข้อเดียวเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานด้วยว่าต้องการนำเสนอภาพถ่ายไปในทิศทางไหน ซึ่งทุกอย่างสามารถพลิกแพลงการใช้งานให้เป็นไปตามความต้องการของช่างภาพได้ และแนวคิดใหม่ ๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาก็อาจจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจให้คนอื่นได้นำไปลองใช้กับงานของเขาด้วยเช่นกัน
บทสรุป
วิวัฒนาการของ ฟิลเตอร์กล้องฟิล์ม จากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นเหมือนการเดินทางผ่านยุคสมัยที่ไม่ได้ตกหล่นไประหว่างทาง แม้ว่าคุณสมบัติดั้งเดิมของฟิลเตอร์ในงานถ่ายภาพจะเป็นเพียงแค่การใช้ป้องกันหน้าเลนส์และตัดแสง UV ไม่ให้เข้ามากระทบการถ่ายภาพ แต่ในปัจจุบันคุณสมบัตินั้นได้ถูกแทนที่ไปด้วยฟิลเตอร์แนวใหม่ที่คนสนใจถ่ายภาพต้องเลือกใช้ เพราะมีลูกเล่นที่น่าสนใจเมื่อนำมาใช้จะทำให้การถ่ายภาพมีมิติในการนำเสนอมากขึ้น เป็นอุปกรณ์ตัวช่วยสำคัญที่คนถ่ายภาพจะต้องพกพาไปด้วย
Credit by