มือใหม่หัดถ่ายรูปภาพพลาด เทคนิคการ ถ่ายมาโคร ที่ใครก็ทำตามได้

มือใหม่หัดถ่ายรูปภาพพลาด เทคนิคการถ่ายมาโคร ที่ใครก็ทำตามได้

ถ่ายมาโคร เมื่อพูดถึงกันในแวดวงการถ่ายรูปจะทราบกันดีว่านี่คือเทคนิคการถ่ายภาพที่ต้องอาศัยความสามารถและทักษะอยู่ไม่น้อย เพราะลักษณะภาพมาโครหรือภาพถ่ายระยะใกล้ที่ทำให้เห็นรายละเอียดของวัตถุต่าง ๆ อธิบายง่าย ๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่รู้จักเทคนิคนี้ทราบคือภาพดอกไม้  แมลง สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก เช่น มดที่กำลังขนเสบียงอาหาร หรือภาพลวดลายของดอกไม้ระยะใกล้ ภาพหยดน้ำที่เกาะอยู่บนใบไม้ในระยะใกล้ เหล่านี้คือภาพที่ถ่ายด้วย เทคนิคการถ่ายมาโคร คำถามคือจะ ถ่ายมาโคร อย่างไรให้ภาพออกมาสวยสะกด เห็นรายละเอียดชัด ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยอุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีคุณสมบัติต่างจากการถ่ายรูปทั่วไป แต่จะเป็นยังไงนั้นมาดูกันดีกว่า เผื่อว่าใครที่กำลังหาเทคนิคในการถ่ายภาพมาโครจะได้มีตัวช่วยในการฝึกทักษะนี้

ถ่ายมาโคร

1. เทคนิคการถ่ายมาโคร เริ่มจากการจัดองค์ประกอบภาพ โดยส่วนมากแล้วภาพมาโครมีองค์ประกอบภาพที่ไม่ซับซ้อน เมื่อได้ตัวแบบที่ต้องการ เช่น ต้องการจะถ่ายภาพแมลงที่กำลังขนเสบียงอาหารก็เพียงแค่ลบสิ่งรอบข้างออกไปและโฟกัสที่ตัวแมลงที่เป็นแบบเท่านั้น เราจึงจะเห็นภาพมาโครส่วนใหญ่จะมีความคมชัดเฉพาะตัวแบบ ส่วนพื้นหลังหรือองค์ประกอบอื่น ๆ จะเป็นภาพเบลอ นั่นก็เพื่อทำให้ตัวแบบโดดเด่นและชัดเจน สะกดสายตานั่นเอง

2.พื้นหลังสะอาด ดูง่าย ทำให้ภาพที่เป็นตัวแบบดูโดดเด่น ซึ่ง เทคนิคการถ่ายมาโคร เพียงทิ้งระยะห่างระหว่างพื้นหลังกับตัวแบบ จะได้พื้นหลังที่สวยงาม ไม่ทำให้ภาพดูน่าอึดอัด เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างให้กับภาพอย่างลงตัว ภาพหลังเบลอหรือดูฟุ้งที่เรียกอีกอย่างว่า โบเก้ เป็นตัวช่วยให้ง่าย ๆ ลองปรับรูรับแสงกว้าง จากนั้นสังเกตที่ระยะพื้นหลังต้องไกลจากตัวแบบ

ถ่ายมาโคร

3.ใช้เวลาสักหน่อยในการปรับจุดโฟกัส แนะนำว่าไม่ควรใช้ auto focus เพราะทำให้เราพลาดบางจุดที่โฟกัสแล้วทำให้ภาพสวยสะดุดตาขึ้น เทคนิคนี้จึงง่ายมากนั่นคือการปรับโฟกัสด้วยตัวเอง ลองหมุนหาไปเรื่อย ๆ ซ้ายขวาอย่างช้า ๆ นี่เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่เพียงแค่อาศัยความใจ แต่ถ้ายังไม่มั่นใจก็สามารถที่จะเริ่มต้นด้วยการเลือกโหมด auto focus แล้วจากนั้นจึงคอยปรับโฟกัสด้วยมือ ฝึกทักษะนี้จนชำนาญแล้วคุณจะเป็นนักถ่ายภาพมาโครแบบมืออาชีพ

4.อย่าลืมตั้งค่า Self-Timer เพื่อรักษาความคมชัดของภาพ เพราะภาพมาโครต้องควบคุมระยะชัดลึก เพื่อให้ภาพที่คมชัดจะต้องลดปัญหาภาพสั่น การตั้งค่า Self-Timer หรือระบบหน่วงเวลาถ่ายภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตั้งค่ากล้องก่อนที่จะกดถ่ายภาพมาโคร

5.เทคนิคสร้างโบเก้หรือพื้นหลังเบลอให้สวยสะดุดตา เทคนิคง่าย ๆ คือถ่ายย้อนไปที่ต้นกำเนิดของแสง เทคนิคคือค่อยขยับเลยหามุมไปเรื่อย ๆ ที่เจอกับมุมที่แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านจากกิ่งไม้ วิธีนี้จะทำให้ได้ภาพมาโครที่มีพื้นหลังเบลอสวยต่างจากภาพเบลอปกติ เพราะจะดูมีดีเทลมากขึ้น

6.องค์ประกอบสีสำคัญ ด้วยความที่ภาพมาโครจะเน้นความเรียบง่าย คมชัด  การจัดองค์ประกอบสีของภาพจึงสำคัญ สีดูน้อยแต่มีรายละเอียด มีความคมชัด ซึ่งเพื่อทำให้ตัวแบบโดดเด่นกว่าพื้นหลัง องค์ประกอบสีในภาพต้องไปในโทนเดียวกัน ยกตัวอย่างการถ่ายภาพ แมลงที่เกาะอยู่บนกลีบดอกไม้ ภาพพื้นหลังในระยะไกลออกไปก็ควรเป็นสีโทนเดียวกับกลีบดอกไม้ที่แมลงหรือตัวแบบเกาะอยู่นั่นเอง ทั้งภาพก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยที่ยังคงมีความโดดเด่นเป็นจุดสนใจเดียวคือแมลงที่เกาะอยู่

ถ่ายมาโคร

บทสรุป

ฝึกการ ถ่ายภาพมาโคร นอกจากใช้ เทคนิคการถ่ายมาโคร แล้ว สิ่งสำคัญคือช่างภาพต้องมีความใจเย็น มีสมาธิ การฝึกฝนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะยิ่งฝึกฝนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ชำนาญในเรื่องของการจัดองค์ประกอบ การจัดแสง การเลือกพื้นหลังที่จะทำให้ตัวแบบมีความโดดเด่นขึ้นมาได้ไม่ยาก นอกจากเรื่องความใจเย็นแล้วสิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการเลือกอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น มาดูกันว่าช่างภาพถ่ายภาพมาโคร ใช้อุปกรณ์อะไรในการทำงาน

Credit by : Ufabet