ถ่ายทางช้างเผือก เปิดม่านชัตเตอร์ไว้รอ ปรากฏในยามที่ฟ้าสว่าง เปิดม่านชัตเตอร์ไว้รอ ถ่ายทางช้างเผือก ปรากฏในยามที่ฟ้าสว่าง

ถ่ายทางช้างเผือก เปิดม่านชัตเตอร์ไว้รอ ปรากฏในยามที่ฟ้าสว่าง

การซึมซับเอาบรรยากาศท้องฟ้ากลางคืนจะมองตาเปล่าก็ดี หรือจะบันทึกภาพเก็บเอาไว้ดูย้อนหลังก็ให้ความรู้สึกที่ต่างไป ถ่ายทางช้างเผือก และกิจกรรมการถ่ายภาพท้องฟ้าคืน ดวงดาว ดวงจันทร์ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ติดอันดับความนิยมของนักถ่ายภาพเช่นกัน กิจกรรมนี้เป็นการรวมเอาหลายอรรถรสไว้ด้วยกันทั้งการได้ออกท่องเที่ยวนอกสถานที่ ได้ชมท้องฟ้า และได้ถ่ายภาพ หนึ่งในการถ่ายภาพท้องฟ้าที่มักถูกพูดถึงอยู่เสมอต้องยกให้การตามหา ถ่ายทางช้างเผือก ซึ่งปัจจุบันจะปรากฎให้เห็นได้แค่เฉพาะพื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงไฟ ทำให้เจ้าสิ่งนี้ถูกพบเห็นได้แค่บางพื้นที่ที่เอื้ออำนวยเท่านั้น

ดาราจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ไม่ได้มีแค่ให้ช้างเดิน

                ที่มาของชื่อ ถ่ายทางช้างเผือก นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีดวงดาวที่เป็นรูปช้างรวมตัวกันอยู่แต่อย่างใด แต่ชื่อเรียกนี้ถูกกำหนดขึ้นมาในประเทศไทยโดยอ้างอิงตามความเชื่อเกี่ยวกับสมมติเทพ โดยสมมติเทพที่ประชากรของไทยให้ความสำคัญก็คือระบอบแห่งกษัตริย์ ซึ่งในการเชิดชูกษัตริย์ก็จะต้องมีคน สัตว์ สิ่งของที่ต้องมาช่วยเสริมบารมีให้น่าเกรงขาม สัตว์ที่มีความเชื่อว่าเป็นคู่บุญบารมีของกษัตริย์ไทยนั้นเป็นช้างเผือก หากมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเวลากลางคืนจะเห็นฝ้าสีขาวพาดผ่านอยู่บนพื้นท้องฟ้า จึงมีความเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นเส้นทางเดินของช้างเผือกที่เป็นคู่บารมีของสมมติเทพนั่นเอง

                แต่ในฝั่งตะวันตกก็จะมีชื่อเรียกกาแลกซี่นี้โดยอ้างอิงเกี่ยวกับความเชื่อต่อพระเจ้าอยู่เหมือนกัน ซึ่งเห็นได้จากชื่อสากลของกาแลกซี่นี้คือ The Milky Way Galaxy หรือจะแปลออกมาแบบตรงตัวก็คือกาแลกซี่ทางน้ำนม โดยอ้างอิงความเชื่อที่ว่าเป็นเส้นทางที่พระเจ้าได้เดินทางมาประทานน้ำนมให้แก่พระเยซูเนื่องในวันประสูติ ซึ่งแต่ละพื้นที่ในโลกเราก็จะมีความเชื่อเกี่ยวกับกาแลกซี่นี้ต่างออกไป เพียงแค่อาจจะไม่ได้มีการบันทึกแล้วนำออกมาเผยแพร่เป็นกิจลักษณะนั่นเอง

ถ่ายทางช้างเผือก

สามารถพบ The Milky Way Galaxy ได้อย่างไร

                ท่านที่สนใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์ก็จะทราบว่าวิธี สังเกต ทางช้างเผือก สามารถทำได้อย่างไร แต่สำหรับท่านที่อยากจะลองสังเกตดูบ้างแต่ยังไม่รู้วิธี จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะได้นำเอาวิธีการสังเกตง่าย ๆ มาแบ่งปันแก่อีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้ ซึ่งวิธีการมองหากาแลกซี The Milky Way Galaxy ก็สามารถทำได้ ดังนี้                – The Milky Way Galaxy จะปรากฏให้เห็นได้ชัดมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนสิงหาคม หรือในบางจังหวะอาจจะเริ่มมองเห็นได้เร็วขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะไม่ปรากฎเค้าลางของกาแลคซีให้เห็น

                – The Milky Way Galaxy จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเมื่อท้องฟ้าไม่มีแสงสว่างรบกวน แต่สำหรับพื้นที่ในเมืองที่มีแสงรบกวนจากตึกอาคาร ป้ายโฆษณา หรือแสงจากรถยนต์จะไม่ปรากฎภาพกาแลคซีนี้ให้เห็น

                – เมื่อเป็นเช่นนั้นสถานที่ที่เหมาะกับการมองหา The Milky Way Galaxy แบบที่ปรากฎชัดที่สุดจึงต้องเป็นพื้นที่ชนบท หรือเขตอนุรักษ์ธรรมชาติต่าง ๆ ที่ไม่ถูกรบการแสงอาคาร

                – คืนที่เหมาะแก่การมองหา The Milky Way Galaxy จะต้องเป็นคืนที่ไม่มีแสงพระจันทร์รบกวน หรือไม่มีกลุ่มเมฆคอยบังหน้าท้องฟ้า

                – เมื่อได้พบสถานที่จะปักหลักชม The Milky Way Galaxy แล้ว ให้ใช้เข็มทิศเพื่อหาทิศใต้และหันหน้าไปทางนั้น

เพราะกาแลคซีนี้จะปรากฏให้เห็นทางด้านทิศใต้หรือเบนไปทางตะวันออกเฉียงใต้

กล้อง-ถ่ายทางช้างเผือก

เพิ่มมิติการเชยชม The Milky Way Galaxy

            อย่างที่ทราบกันว่า The Milky Way Galaxy เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่า แต่ วิธีดู ทางช้างเผือก ที่จะได้มิติการชมมากขึ้นก็ต้องมีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เข้ามาด้วย จะช่วยให้มองเห็น The Milky Way Galaxy ได้ชัดมากขึ้น และสามารถบันทึกภาพความสวยงามเหล่านั้นเอาไว้ดูย้อนหลังหรือนำไปเผยแพร่ลงพื้นที่ Social Media ของตัวเองได้ด้วย ซึ่งอุปกรณ์ที่มักจะนำมาใช้ในกิจกรรมนี้ ได้แก่

                – กล้องถ่ายภาพ ที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้และเป็นเลนส์ไวแสงมากยิ่งดี ควรมีเซนเซอร์รับภาพที่ใหญ่พอ

                – กล้องถ่ายภาพที่ใช้ต้องมีค่า ISO สูง เพื่อป้องกันกันเกิด Noise เวลาถ่ายภาพกลางคืน

                – ขนาดของเซนเซอร์รับภาพที่ใช้จะอยู่ที่ระดับ APS-C หรือ Full Frame ขึ้นไป เพื่อเก็บรายละเอียดรอบ ๆ

                – ขาตั้งกล้อง เป็นอุปกรณ์สำคัญในการตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพกลางคืน ซึ่งจะช่วยโฟกัสภาพไม่เคลื่อน

                – สายลั่นชัตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ตัวช่วยที่จะทำให้การกดถ่ายภาพโดยที่ไม่ทำให้ภาพเคลื่อนไปจากจุดที่โฟกัส

                – แบตเตอรี่ เพราะการตั้งกล้องถ่าย The Milky Way Galaxy จะต้องใช้เวลา และต้องเปิดใช้งานกล้องถ่ายภาพอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงต้องมีแบตเตอรี่สำรองเอาไว้เปลี่ยนระหว่างการใช้งานให้เพียงพอเสมอ

                นอกจากการมีกล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริมที่มีประสิทธิภาพมากพอแล้ว สำหรับภาพถ่าย ถ่ายทางช้างเผือก หากเพิ่มลูกเล่นการถ่ายภาพเข้าไปก็จะยิ่งทำให้ได้ภาพถ่ายนั้นมีมิติมากขึ้น อย่างเช่น

                – การตั้งค่า White Balance เพื่อปรับอุณหภูมิสีของภาพได้ตามใจชอบ ซึ่งการปรับอุณหภูมิสีในภาพก็เปลี่ยนจะอารมณ์ของภาพให้ต่างกันออกไป

                – การจัดองค์ประกอบภาพให้น่าสนใจ ลำพังการถ่ายภาพท้องฟ้าอย่างเดียวก็มีความสวยงามอยู่แล้ว แต่การเสริมองค์ประกอบอื่นอย่างเช่น ต้นไม้ เนินหิน หรือภูเขาเข้ามาในภาพด้วย ก็จะยิ่งเสริมให้ภาพถ่ายมีมิติมากขึ้น

ถ่ายทางช้างเผือก

แนะนำสถานที่ชม The Milky Way Galaxy ในประเทศไทย

            1. ดอยหลวงเชียวดาว จังหวัดเชียงใหม่

                2. ภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์

                3. สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี

                4. เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                5. หาดขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทสรุป

                ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ชื่นชอบอยู่แล้วหรือเป็นผู้ที่กำลังเริ่มศึกษาเกี่ยวกับ ถ่ายทางช้างเผือก ก็ตามที เมื่อได้เข้ามาอยู่ในแวดวงนี้แล้วเชื่อว่าจะต้องหลงใหลในแรงดึงดูดของดวงดาวอย่างแน่นอน เพราะระบบดวงดาวนั้นเกี่ยวพันกับชีวิตของเราในหลาย ๆ แง่ไม่ว่าจะเป็นในเชิงดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ด้วย เบื้องหลังท้องฟ้ากลางคืนที่เราคอยเฝ้ามองอยู่นั้นคือดินแดนเอกภพไกลโพ้นที่เราเดินทางไปไม่ถึงและมีอีกหลายอย่างที่รอคอยให้เกิดการค้นพบใหม่อยู่ ความสวยงามและความลึกลับนี้จึงเป็นเสน่ห์สำคัญที่จะคอยดึงดูดให้เราคอยจับจ้องไปที่นั่นเสมอ

Credit by : Ufabet